
ในปัจจุบันมีเทรดเดอร์มือใหม่จำนวนมากที่ยังหาวิธีหรือแนวทางในการเทรด เพื่อที่จะทำกำไรในตลาดใน Forex ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีมากมายหลายวิธีให้คุณได้เลือกใช้ตามความถนัดของเทรดเดอร์แต่ละคน และหนึ่งในแนวทางที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ในตลาด Forex เลือกที่จะใช้นั่นก็คือ การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากสำหรับเทรดเดอร์ทุกๆคน เพราะสามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น การวิเคราะห์กราฟราคาด้วย Indicator หรือ Price Action และอื่นๆอีกมากมาย แต่บทความนี้ผมอยากจะพาเทรดเดอร์ทุกๆท่านไปรู้จักกับแนวทางในการเทรดอีกรูปแบบหนึ่งที่นำมาใช้ร่วมกับกับการวิเคราะห์ของเรานั่นก็คือ “การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis)” ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณควรที่จะศึกษาไว้เช่นกัน เพราะการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะให้คุณเห็นภาพรวมที่ใหญ่กว่า จึงต้องศึกษาเพื่อเป็นความรู้และนำมาใช้ในสถาณการณ์ต่างๆในตลาด Forex ต่อไป
วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundament Analysis) คืออะไร?
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundament Analysis) คือ การวิเคราะห์หรือคาดการณ์หาแนวโน้มต่างๆที่จะส่งผลต่อค่าเงิน โดยวัดจากเศรษกิจโดยรวมในประเทศนั้นๆ, ข่าวเศรษกิจต่างๆเป็นต้น เพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจซื้อ-ขายที่ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น และการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานมีอะไรบ้างคุณคงอยากรู้กันแล้วใช่ไหมครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาไปดูกันเลย
วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมีอะไรบ้าง?
วิเคราะห์ทางเศรฐกิจ (Economic Analysis)
- เป็นการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตของเศรษฐกิจภายในประเทศหรือนอกประเทศ
วิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis)
- การวิเคราะห์อุตสาหกรรม คือ การวิเคราะห์อุตสาหกรรมต่างๆภายในประเทศนั้นๆ โดยวัดจากผลงานหรือการเติบโตของอุตสาหกรรมนั้นๆว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไรในอนาคต
วิเคราะห์บริษัท (Company Analysis)
- การวิเคราะห์ประเภทนี้จะเป็นการวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพท์ ซึ่งการวิเคราะห์บริษัทจะใช้ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพของบริษัทและปริมาณ
จากหัวข้อข้างบนคุณคงเห็นแล้วว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเข้าใจที่ละเอียดมากขึ้น ดังนั้นการวิเคราะห์ทางเทคนิคจึงเป็นที่นิยมมากกว่า แต่ถ้าคุณอยากจะรู้ว่าจะวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นได้อย่างไรบ้าง เช่น
วิเคราะห์ด้วยข่าว Forex
ข่าว Forex คือ ข่าวต่างๆที่มีผลกระทบต่อค่าเงินนั้นๆและทำให้แต่ละคู่สกุลเงินมีผลต่อกัน โดยวิเคราะห์จากเศรษฐกิจทางการเงินของประเทศผู้ที่เป็นเจ้าของสกุลเงินนั้นๆ
Non Farm (นอนฟาร์ม)
เป็นข่าวที่บอกตัวเลขการจ้างงานของธุรกิจต่างๆภายในประเทศนั้นๆ ยกเว้นเกษตรกรรม โดยจะประกาศในวันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์แรกของเดือน ซึ่งข่าว Non Farm นั้นมีผลกระทบต่อสกุลเงินมาก
- หากว่าตัวเลขออกมาสูงกว่าที่คาดการณ์ให้ถือว่าเป็นข่าวดี แสดงว่าภายในประเทศนั้นๆมีการใช้จ่ายมากขึ้นและการจ้างงานมากขึ้นด้วย ซึ่งทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นๆมีผลเป็นบวก
- ถ้าตัวเลขออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ให้ถือว่าเป็นข่าวไม่ดี แสดงว่าภายในประเทศนั้นๆมีการใช้จ่ายน้อยลงและการจ้างงานที่น้อยลงด้วย ซึ่งจะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นๆมีผลเป็นลบ
Unemployment Rate
เป็นข่าวที่บอกถึงการว่างงานภายในประเทศนั้นๆ โดยจะประกาศวันเดียวกับข่าว Non Farm (นอนฟาร์ม)
- หากตัวเลขออกมาสูง แสดงว่ามีอัตราการว่างงานสูง ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ และจะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นๆปรับตัวลง
- หากตัวเลขออกมาต่ำ แสดงว่ามีอัตราการว่างงานต่ำ ซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ และจะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นๆปรับตัวขึ้น
GPD (Gross Domestic Product)
เป็นข่าวที่บอกถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศนั้นๆ โดยใช้มูลค่าทางการเงินและสินค้าบริการเป็นตัวชี้วัด
- หากตัวเลขออกมาสูง แสดงว่าเศรษฐกิจภายในประเทศนั้นดี และจะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นๆปรับตัวขึ้น
- หากตัวเลขออกมาต่ำ แสดงว่าเศรษฐกิจภายในประเทศนั้นไม่ดี และจะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นๆปรับตัวต่ำลง
Trade Balance (ดุลการค้า)
เป็นข่าวที่บอกถึงความแตกต่างของการนำเข้าและส่งออกของสินค้าและบริการ
- หากตัวเลขสูกกว่าที่คาดการณ์ไว้ แสดงว่ามีการส่งออกมากกว่าการนำเข้า ซึ่งทำให้ดุลการค้ามีค่าเป็นบวก และจะทำให้ค่าเงินปรับตัวสูงขึ้น
- หากตัวเลขต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ แสดงว่ามีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ซึ่งทำให้ดุลการค้ามีค่าเป็นลบ และจะทำให้ค่าเงินปรับตัวต่ำลง
Retail Sales (ยอดค้าปลีก)
เป็นข่าวที่บอกถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งจะวัดจากยอดขายการค้าปลีกภายในประเทศนั้นๆ โดยจะประกาศในวันที่ 13 ของเดือน
- หากตัวเลขออกมาสูง แสดงว่าการค้าปลีกสูงขึ้น ทำให้เศรษฐกิจดี และจะทำให้ค่าเงินปรับตัวขึ้น
- หากตัวเลขออกมาต่ำ แสดงว่าการค้าปลีกต่ำลง และการนำเข้าสูงขึ้น จึงทำให้เศรษฐกิจไม่ดี และทำให้ค่าเงินปรับตัวต่ำลง
Unemployment Claims
เป็นข่าวที่บอกถึงยอดของผู้มายื่นขอรับค่าสวัสดิการจากการว่างงาน โดยจะประกาศทุกวันพฤหัสบดี
- หากตัวเลขออกมาสูง แสดงว่าการว่างงานมากขึ้น และทำให้ค่าเงินภายในประเทศนั้นๆปรับตัวต่ำลง
- หากตัวเลขออกมาต่ำ แสดงว่าการว่างงานน้อยลง และทำให้ค่าเงินภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นด้วย
Producers Price Index (PPI)
เป็นข่าวที่แสดงถึงราคาผู้ผลิต ซึ่งเป็นเหมือนกับตัวชี้วัดราคาของสินค้าส่ง
- หากตัวเลขออกมาสูง จะทำให้ค่าเงินปรับตัวสูงขึ้น
- หากตัวเลขออกมาต่ำ จะทำให้ค่าเงินปรับตัวต่ำลง
Consumer Price Index (CPI)
เป็นข่าวที่แสดงถึงดัชนีราคาผู้บริโภค ตัวเลขที่แสดงออกมาใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อมาใช้เป็นประจำ
- หากตัวเลขออกมาสูง จะทำให้ค่าเงินปรับตัวสูงขึ้น
- หากตัวเลขออกมาต่ำ จะทำให้ค่าเงินปรับตัวต่ำลง
Fomc (Federel Open Maket Committee)
เป็นข่าวที่บอกถึงการประชุมครั้งสำคัญของคณะกำหนดนโยบายทางการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือที่เรียกกันว่า Fed ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแกว่งตัวมากกว่าปกติ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้จะมีผลต่อค่าเงินอย่างมาก
- หากตัวเลขออกมาสูง จะทำให้ค่าเงินปรับตัวสูงขึ้น
- หากตัวเลขออกมาต่ำ จะทำให้ค่าเงินปรับตัวต่ำลง
ข่าวเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเทรด Forex เนื่องจากช่วงที่มีข่าวแรงๆออกมา ราคาจะแกว่งตัวรุนแรงมากถ้าเทรดเดอร์ไม่มีประสบการณ์ในการซื้อ-ขายช่วงนี้ ผมขอแนะนำให้คุณอยู่เฉยๆอย่าทำการซื้อ-ขายช่วงที่มีข่าวเด็ดขาด เพราะมันอาจจะทำให้คุณขาดทุนและล้างพอร์ตได้เลยทีเดียว แต่สำหรับเทรดเดอร์มืออาชีพอาจจะเห็นช่วงนี้เป็นโอกาสสำคัญในการทำกำไรอย่างดี ซึ่งการวิเคราะห์ด้วยข่าว Forex ก็ใช้หลักการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน ถ้าคุณอยากจะรู้สิ่งต่างที่เกิดขึ้นในตลาด Forex ก็สามารถเข้าไปดูและวิเคราะห์ได้ใน https://www.forexfactory.com