โบรกเกอร์ Forex คืออะไร ? ทำไมต้องมี การที่คุณจะเข้ามาทำกำไรในตลาด Forex คุณต้องทำการซื้อขายผ่านคนกลางเท่านั้นและไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายโดยตรงไปยังตลาดส่วนกลาง Forex ได้คุณจึงต้องมีคนกลางเพื่อทำหน้าที่คอยรับคำสั่งซื้อขายของเทรดเดอร์รายย่อยอย่างเราไปยังตลาดส่วนกลาง Forex ซึ่งเราจะเรียกคนกลางเหล่านั้นว่าโบรกเกอร์และการที่คุณจะเข้ามาทำกำไรจากตลาดนี้คุณก็ควรจะศึกษาว่าโบรกเกอร์มีแบบไหนบ้างเพื่อที่คุณจะเลือกเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย ซึ่งมือใหม่จำนวนมากที่ยังไม่รู้เรื่องเหล่านี้ บทความนี้ผมจึงอยากพาเทรดเดอร์ทุกๆท่านมาทำความรู้จักว่าโบรคเกอร์ในตลาด Forex คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้างในตลาด Forex
Broker (โบรกเกอร์) คืออะไร?
“Broker (โบรกเกอร์)” ก็คือคนกลางที่รับคำสั่งซื้อขายจากเทรดเดอร์รายย่อยไปยังศูนย์กลางของตลาด Forex เพราะว่าเทรดเดอร์รายย่อยอย่างเราไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายโดยตรงไปยังตลาด Forex ได้ เลยจำเป็นต้องทำการซื้อขายผ่านโบรกเกอร์เท่านั้น ส่วนรายได้ของโบรเกอร์จะมาจากค่าเสปรด หรือค่าคอมมิชชั่นเท่านั้น ดังนั้นคำสั่งซื้อขายของคุณก็จะไม่เกี่ยวข้องกับรายได้ของโบรเกอร์โดยตรง เพราะว่าโบรกเกอร์เป็นเพียงตัวกลางระหว่างคุณและตลาด Forex เท่านั้น และในตลาด Forex โบรกเกอร์ก็จะแบ่งเป็นอีกสองประเภทนั่นก็คือแบบ Dealing Desk ( Market Maker ) และ Non Dealing Desk ซึ่งผมจะพาคุณไปเรียนรู้ความหมายของมันในบรรทัดต่อไป
โบรกเกอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. โบรกเกอร์แบบ Dealing Desk
โบรกเกอร์แบบ “Dealing Desk” คือ โบรกเกอร์ที่รับเป็นเจ้ามือเอง (Market Maker) คำสั่งซื้อขายของเราจะไม่ถูกส่งเข้าสู่ตลาดกลาง Forex เพราะว่าเมื่อคุณเปิดออเดอร์ทางโบรกเกอร์ก็จะทำการจับคู่อีกฝั่งหนึ่งให้เราโดยอัตโนมัติ
ยกตัวอย่างเช่น
- เราได้ส่งคำสั่ง Sell คู่เงิน USD/JPY ไปยังโบรกเกอร์
- โบรกเกอร์ก็จะทำการจับคู่กับลูกค้าคนอื่นที่เปิดออเดอร์ Buy
- แต่ถ้าโบรกเกอร์ไม่สามารถจับคู่ออเดอร์ของเรากับลูกค้าคนอื่นได้ โบรกเกอร์นั้นอาจจะต้องรับออเดอร์ของเราไว้เอง
- ทุกออเดอร์ของเราจะมีผลกระทบกับโบรกเกอร์ หากเราได้กำไรโบรกเกอร์จะขาดทุน หากเราขาดทุนโบรกเกอร์จะได้กำไร
ข้อดีของโบรกเกอร์แบบ Dealing Desk
- มีค่าบริการที่ถูกมาก
- มีค่า Spread ค่อนข้างตายตัว
ข้อเสียของโบรกเกอร์แบบ Dealing Desk
- การส่งคำสั่งซื้อขายล่าช้าเพระต้องผ่าน Market Maker
- ความปลอดภัยน้อยมากเพราะโบรกเกอร์แบบ Dealing Desk ไม่ได้ส่งคำสั่งซื้อขายของเรากับส่วนกลางของตลาด Forex โดยตรง
- ส่วนมากโบรกเกอร์ประเภทนี้จะไม่มีความน่าเชื่อถือและมีข่าวไม่ดีค่อนข้างมาก
2. โบรกเกอร์แบบ No Dealing Desk
คือโบรกเกอร์ที่รับคำสั่งซื้อขายจากเราไปยังตลาดส่วนกลางโดยตรงเปรียบเหมือนเป็นตัวกลางระหว่างเทรดเดอร์และตลาดส่วนกลางโบรกเกอร์จะได้กำไรจากค่า Commision และค่า Spread เท่านั้น ซึ่งโบรกเกอร์ประเภทนี้ค่อนข้างที่จะเป็นที่นิยมในระดับหนึ่ง เพราะมีความน่าเชื่อถือสูง และยังสามารถแบ่งได้อีก 2 เภท
โบรกเกอร์แบบ No Dealing Desk ยังสามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ
- Straight Through Processing ( STP ) คือ การประมวลผลโดยตรง
- Electronic Communication Network + Straight Through Processing ( ECN + STP )
คือ ระบบอัตโนมัติเพื่อเก็บคำสั่งซื้อขายที่ตรงกันและการประมวลผลโดยตรง
ขอดีของโบรกเกอร์แบบ No Dealing Desk
- ส่งคำสั่งซื้อขายได้รวดเร็ว ไม่มีปํญหาเปิดออเดอร์ไม่ได้
- มีความปลอดภัยมากเมื่อเทียบกับโบรกเกอร์แบบ Dealing Desk เพราะคำสั่งซื้อขาย ของเราถูกส่งเข้าศูนย์กลางตลาด Forex โดยตรง
- โบรกเกอร์เป็นเพียงแค่ตัวกลางระหว่างเทรดเดอร์กับศูนย์กลางตลาด Forex เท่านั้น
ข้อเสียของโบรกเกอร์แบบ No Dealing Desk
- มีค่าสเปรดที่ไม่คงที่และอาจจะมีค่าคอมมิชชั่น
- มีค่าบริการที่สูงกว่าแบบ Dealing Desk
สรุป
คุณคงรู้แล้วใช่ไหมว่าโบรเกอร์คืออะไร และโบรกเกอร์แบบไหนละที่ดีกว่ากัน แต่คงบอกได้แค่ว่ามันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน อย่างเช่นถ้าคุณเลือกที่จะเปิดบัญชีกับ โบรเกอร์ No Dealing Desk เพราะว่ามันมีความน่าเชื่อถือ แต่ก็ต้องแลกมากับค่าบริการที่แพงขึ้น หรือคุณเลือกที่จะเปิดบัญชีกับ โบรกเกอร์ Dealing Desk ข้อเสียก็คือออเดอร์คำสั่งซื้อขายของคุณจะไม่ถูกส่งตรงเข้าส่วนกลางตลาด Forex เพราะโบรเกอร์ประเภทนี้ได้รวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ทั้งหมดจึงเหมือนกับว่าไม่มีความซื่อตรงต่อเทรดเดอร์อย่างเราและอาจจะมีการปั่นราคาและเราไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าโบรกเกอร์ประเภทนี้โกงกราฟหรือไม่แต่ก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้นเสียทีเดียวเพราะว่าปัจจุบันโบรกเกอร์แบบ Dealing Desk หลายๆบริษัทนั้นได้มีการจดทะเบียนรับรองจากสถาบันทางการเงินต่างๆมากมายจึงทำให้โบรกเกอร์ประเภทนี้มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัยกว่าแต่ก่อนอย่างมากจึงทำให้ได้รับการยอมรับจากเทรดเดอร์มากขึ้นด้วย และสิ่งที่ทำให้เทรดเดอร์หลายๆคนเลือกเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ประเภทนี้ก็เพราะ มีค่าสเปรดที่ถูกและคงที่ ค่าบริการที่ไม่แพงและยังมีโปรโมชั่นให้ลูกค้าได้ร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายนี้การที่คุณจะเลือกเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์แบบไหนสิ่งที่สำคัญที่สุดคุณควรศึกษาเงื่อนไขของแต่ละโบรกเกอร์ให้ละเอียดก่อนตัดสินใจเลือกว่าแบบไหนที่เหมาะสมกับคุณดีที่สุด