
หากพูดถึงอินดิเคเตอร์ที่ได้รับการยอมรับไปอย่างทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นตลาด Forex ตลาดหุ้น หรือตลาดอื่นๆ คงจะลีกเลี่ยงเรื่อง Fibonacci (ฟีโบนักชี) ไม่ได้อย่างแน่นอน เนื่องจากตัว Fibonacci (ฟีโบนักชี) เป็นอินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มนักวิเคราะห์กราฟราคาด้วยปัจจัยทางเทคนิคทั่วโลก ในบทความผมจะพาไปทำความรู้จัก Fibonacci (ฟีโบนักชี) แบบละเอียดเจาะลึก
Fibonacci (ฟิโบนักชี) คืออะไร
Fibonacci (ฟีโบนักชี) คือ หนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาด Forex ในความจริงแล้ว อินดิเคเตอร์ Fibonacci ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ทั้งตลาดหุ้นไทยและหุ้นนอก จึงไม่เป็นที่แปลกใจว่าทำไม Fibonacci Indicator เป็นทีนิยมไปอย่างทั่วโลก เนื่องจากหลักการของ Fibonacci เป็นการวิเคราห์ทิศทางของกราฟราคาด้วยหลักการใช้แนวรับ-แนวต้าน และตัวเลขมหศจรรย์ เพื่อใช้ในการหาจุดพักตัวของราคา จุดกลับตัวของราคา จุดทำกำไรและจุดหยุดขาดทุน และอื่นๆอีกมากมาย
Fibonacci เป็นอินดิเคเตอร์ที่น่าเชื่อถือและสารพัดประโยชน์ Fibonacci จึงเป็นอินดิเคเตอร์ทีทีมงาน CutForex.com อยากแนะนำ หากคุณไม่รู้ว่าจะเลือกอินดิเคเตอร์ตัวใด เราขอแนะนำ Fibonacci ให้เป็นตัวเลือกหนึ่งในนั้น
ประวัติ Fibonacci
นาย Leonardo Fibonacci (ลีโอนาร์โด ฟีโบนักชี) คือผู้คิดค้น Fibonacci (ฟีโบนักชี) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เมืองปิซ่า ประเทศอิตาลี เกิดในปลายทศวรรษที่ 12 ประมาณปี ค.ศ. 1170 – 1250 เขายังมีชื่ออื่นๆอีกด้วย เช่น เลโอนาร์โด ปีซาโน (Leonardo Pisano) แต่ในปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้จักเขาในชื่อ Fibonacci (ฟีโบนักชี) นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น
บิดาของเขาคือ กูกลีเอลโม วิลเลียม (Guglielmo William) มีอาชีพเป็นศุลการักษ์ ในสมัยนั้นที่เมืองบูเกีย (Bugia) ซึ่งเป็นเมืองท่าอยู่บริเวณแอฟริกาเหนือ Fibonacci ได้ร่วมเดินทางมาอยู่กับพ่อของเขาด้วยตั้งแต่เด็ก ซึ่งตอนนี้เอง เขาก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบเลขอาราบิก
หลังจากที่ Leonardo Fibonacci ได้เรียนรู้เลขอาราบิกแล้ว เขารู้สึกว่าเลขอาราบิกนั้นง่ายและมีประสิทธิภาพมากกว่าเลขโรมัน เขาจึงตัดสินใจออกเดินทางไปคาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียนกับนักคณิตศาสตร์อีกคน ชาวอาหรับ และได้เดินทางกลับมาในบ้านเกิดเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1200 และ ปี ค.ศ. 1202 ในตอนนั้นเขาอายุได้ 32 ปี ซึ่งเขาได้เผยแพร่สิ่งที่เขาศึกษามาในหนังสือ ลิเบอร์ อะบาชี (Liber Abaci) หรือมีชื่อภาษาไทยว่า คัมภีร์แห่งการคำนวณ
Fibonacci (ฟีโบนักชี) โด่งดังเป็นอย่างมากถึงขั้นได้รับเกียรติให้เป็นพระราชอาคันตุกะของจักรพรรดิเฟรดริกที่ 2 (Emperor Frederick II)
อ้างอิงข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
ตัวเลข Fibonacci
ตัวเลข Fibonacci ถูกคิดค้นเมื่อทศวรรษที่ 13 แนวคิดจากปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เช่น รูปแบบเปลืกหอยทาก รูปแบบผลไม้ รูปแบบของฟ้าแลบ คิดค้นออกมาเป็นสัดส่วนจนได้สัดส่วนที่เรียกว่า “สัดส่วนทองคำ”
ตัวเลข Fibonacci (ฟีโบนักชี) ที่ได้มาคือ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233….. จนถึงไม่สิ้น
วิธีคิดตัวเลข Fibonacci คือ นำตัวเลขตัวหน้า 2 ตัวมาบวกกัน ก็จะได้ตัวเลขปัจจุบัน จากตัวเลขที่ได้มาก่อนหน้านี้มีที่มาจาก 1, 1, 2(เกิดจาก 1+1), 3(เกิดจาก 2+1), 5(เกิดจาก 2+3), 8(เกิดจาก 3+5), 13(เกิดจาก 5+8), 21(เกิดจาก 8+13), 34(เกิดจาก 13+21), 55(เกิดจาก 21+34), 89(เกิดจาก 34+55), 144(เกิดจาก 55+89), 233(เกิดจาก 89+144)…
คุณสมบัติอันน่าทึ่งของตัวเลข Fibonacci
ตัวเลข Fibonacci ตัวหน้า หารด้วย ตัวเลข Fibonacci ตัวหลัง มีค่าออกมาใกล้เคียงกับ 0.618 เสมอ เช่น 144/233 = 0.618
ตัวเลข Fibonacci ตัวหลัง หารด้วย ตัวเลข Fibonacci ตัวหน้า มีค่าออกมาใกล้เคียงกับ 1.618 เสมอ เช่น 233/144 = 1.618
ตัวเลข Fibonacci ตัวหน้า หารด้วย ตัวเลข Fibonacci ตัวหลัง 2 อันดับถัดไป มีค่าออกมาใกล้เคียงกับ 0.382 เสมอ เช่น 89/233 = 0.382
ตัวเลข Fibonacci ตัวหน้า หารด้วย ตัวเลข Fibonacci ตัวหลัง 2 อันดับก่อนหน้า มีค่าออกมาใกล้เคียงกับ 2.618 เสมอ เช่น 89/34 = 2.618
สัดส่วนที่ออกมา 0.618, 1.618, 0.382 และ 2.618 เป็นสัดส่วนที่พบในธรรมชาติ โดยสัดส่วนที่สำคัญคือ 0.618 และ 1.618 มีชื่อเรียกว่า “สัดส่วนทองคำ”
วิธีการเรียก Fibonacci ในตลาด Forex
รูปแบบของ Fibonacci ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาด Forex คือ Fibonacci Retracement เข้าไปที่แถบเมนูบน Insert > Fibonacci > Fibonacci Retracement
การลาก Fibonacci Retracement
1. วิเคราะห์จากแนวโน้มก่อนลาก Fibonacci
หากเป็นแนวโน้มขาขึ้น ให้นำค่า 0 ไว้ที่จุดต่ำสุด แล้วนำค่า 100 ไว้ที่จุดสูงสุด
ตัวอย่าง จากแนวโน้มขาขึ้น
หากเป็นแนวโน้มขาลง ให้นำค่า 100 ไว้ที่จุดต่ำสุด แล้วนำค่า 0 ไว้ที่จุดสูงสุด
ตัวอย่าง จากแนวโน้มขาลง
2. ปรับค่า Fibonacci Retracement
ดับเบิล คลิกที่เส้นประ Fibonacci จนเกิดจุด 3 จุดขึ้นมาบริเวณเส้นประ หลังจากนั้น คลิกขวาที่จุด 3 จุดนี้ แล้วเลือก Fibo properties… หลังจากนั้นปรับค่าที่ Fibo Levels ที่ช่อง Description โดยเพิ่ม =%$ ไว้ข้างหลังตัวเลข เพื่อให้ตำแหน่งของ Fibonacci Retracement แสดงราคาด้วย
หลังเพิ่ม =%$ ข้างหลังค่า Fibonacci ลงไปแล้ว Fibonacci Retracement ตัวอินดิเคเตอร์จะแสดงตำแหน่งราคาบนอินดิเคเตอร์ด้วย เพื่อให้รู้ว่าตำแหน่งแต่ละค่าของ Fibonacci อยู่ที่ราคาเท่าไหร่
3. วิเคราะห์ Fibonacci เบื้องต้น
ค่า Fibonacci ที่สำคัญคือ 61.8, 50.00 และ 38.2 เป็นค่าปกติที่ราคามักจะพักตัวก่อนที่จะปรับตัวไปต่อ
ค่า 61.8 คือจุดพักตัวที่ 1 โดยปกติแล้วราคามักจะมีการพักตัว บริเวณนี้
ค่า 50.0 คือจุดพักตัวที่ 2 ปกติแล้วราคาไม่ค่อยนิยมมาพักตัวที่จุดนี้สักเท่าไหร่ แต่ในบางทีกราฟแกว่งตัวอย่างรุนแรง ราคาอาจจะลงมาถึงจุดนี้
ค่า 38.2 คือจุดพักตัวที่ 3 ปกติแล้วราคามักจะไม่ลงมาพักตัวลึกขนาดนี้ ในบางครั้งราคาอาจจะมาพักตัวที่จุดนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด แต่ถ้าหากราคาเคลื่อนมาถึงจุดนี้ ให้เตรียมใจไว้ว่าราคาอาจจะมีโอกาสกลับตัวสูง
ค่า 61.8, 50.00 และ 38.2 คือค่าพักตัวของกราฟราคา ตามภาพด้านบน เมื่อราคาพักตัวเรียบร้อยแล้ว ให้ตั้งเป้าหมายกำไรไปที่ค่า 161.8 แต่อย่างไรก็ตามควรตั้งเป้าหมายที่ค่า100.0 ก่อน เผื่อว่าราคาไม่มีแรงมากพอที่จะดันให้ราคาไปถึงค่า 161.8 ได้
จากตัวอย่างข้างล่าง เห็นได้ว่าราคาลงมาพักตัวที่ค่า 38.2 แล้วขึ้นไปที่ค่า 161.8 เห็นได้ว่าการเคลื่อนที่ของราคาเป็นไปตามกฎของตัวเลข Fibonacci
แต่ถ้าหากราคาผ่านจุดพักตัวที่ 3 จุดนี้ไปได้ หมายถึงราคาทะลุค่า 38.2 ลงมา ให้คาดการณ์ว่าราคาอาจจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มในเร็วๆนี้ แต่ไม่แน่นอนเสมอไป บางทีราคาอาจจะมาพักตัวลึกถึงค่า 23.6 หรือ 0.0 แต่ถ้าทะลุค่า 0.0 ลงมาอาจจะทำให้ราคาเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลงได้