
Stochastic Oscillator (STO) เป็นหนึ่งใน Indicators (อินดิเคเตอร์) ที่ได้รับความนิยมมาก ในการวิเคราะห์กราฟราคาด้วยปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) ไม่ใช่เพียงแค่เทรดเดอร์ในตลาด Forex เท่านั้นที่นิยมใช้การวิเคราะห์กราฟราคาจาก Stochastic Oscillator แต่ในตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นต่างประเทศก็นิยมใช้ Stochastic Oscillator ในการวิเคราะห์กราฟราคาเช่นเดียวกัน ดังนั้น คุณจึงมั่นใจได้เลยว่าหากวันใดที่คุณอยากเลิกเทรด Forex คุณสามารถนำความรู้เรื่อง Stochastic Oscillator ในบทความนี้ไปต่อยอดในตลาดหุ้นได้อย่างง่ายดาย
Stochastic Oscillator คืออะไร
Stochastic Oscillator คือ อินดิเคเตอร์ (Indicators) ตัวหนึ่ง ที่มีในให้ใช้ฟรีอยู่ตัวโปรแกรมเทรด Forex อย่าง โปรแกรม MetaTrader 4, โปรแกรม MetaTrader 5 และอื่นๆ ซึ่งตัวอินดิเคเตอร์ Stochastic Oscillator เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator หมายถึงอินดิเคเตอร์ที่วัดการแกว่งตัวของกราฟราคา วิธีการสังเกตุง่ายๆ คือ อินดิเคเตอร์ประเภทนี้มักจะวิ่งในกรอบที่มีค่า 0-100
ประวัติของ Stochastic Oscillator (STO)
อินดิเคเตอร์ Stochastic Oscillator ยังไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจนว่าใครคือผู้สร้างขึ้นมา ต่างจาก กราฟแท่งเทียน (Candlestick Chart) ที่ระบุอ้างอิงผู้คิดค้นอย่างชัดเจน จากข้อมูลหลายๆอย่าง ทำให้หลายคนคาดการณ์ว่า George Lane เป็นผู้คิดค้น Stochastic Oscillator ขึ้นมา แต่ก็มีข้อโต้แย้งที่น่าเชื่อถือว่า บริษัท Investor Educatur คือผู้คิดค้น Stochastic Oscillator ขึ้นมา โดยมีบทความหนึ่งชื่อว่า “Stochastic Process” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ Stochastic และอินดิเคเตอร์ด้วย จึงเป็นข้อมูลที่ยังไม่ชัดเจนสักเท่าไหร่
การเรียกใช้งาน Stochastic Oscillator
เปิดโปรแกรมซื้อขาย Forex โปรแกรม MetaTrader 4 หรือโปรแกรม MetaTrader 5 ไปที่แถบเมนูบนสุด แล้วเลือก Insert > Indicators > Oscillators > Stochastic Oscillator
หน้าตาของอินดิเคเตอร์เตอร์ Stochastic Oscillator
เส้นองค์ประกอบใน Stochastic Oscillator
ส่วนประกอบของ Stochastic Oscillator ประกอบด้วย 2 ส่วน
- เส้น %k คือเส้น Stochastic (สีเขียวอมฟ้า)
- เส้น %D คือเส้นค่าเฉลี่ยของ %K ในรูป คือเส้นประสีแดง
หลักการวิเคราะห์กราฟราคาด้วย Stochastic Oscillator
Stochastic Oscillator เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator วิ่งอยู่ในกรอบ 0-100 ดังนั้นหลักการวิเคราะห์กราฟราคาด้วย Stochastic Oscillator จึงอยู่ในค่า 0-100 การวิเคราะห์กราฟราคาด้วย Stochastic Oscillator จึงแบ่งออกเป็น 2 โซน
- โซน Overbought จะมีค่าตั้งแต่ 80 ขึ้นไป หมายถึง ราคามีแรงซื้อเข้ามามากเกินไปแล้ว อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มเกิดขึ้น แถบสีเขียว ราคาที่ขึ้นอยู่อาจจะปรับตัวลง
- โซน Oversold จะมีค่าตั้งแต่ 20 ลงไป หมายถึง ราคามีแรงขายเข้ามามากเกินไปแล้ว อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มเกิดขึ้น แถบสีแดง ราคาที่ลงอยู่อาจจะปรับตัวขึ้น