• โบรกเกอร์ยอดเยี่ยม ปี 2019

    #โบรกเกอร์ 
    1 รีวิว โบรกเกอร์ Xm92%
    2 รีวิว โบรกเกอร์ exness95%
  • Trader คืออะไร ? คำศัพท์พื้นฐาน Forex

    Trader คืออะไร

    Trader คืออะไร ? คำศัพท์ พื้นฐาน Forex คำศัพท์ในตลาด Forex เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ทุกๆคนสมควรเรียนรู้ก่อนที่จะไปศึกษาเรื่องอื่นๆ ซึ่งก็เหมือนกับการที่เราเริ่มต้นเรียนหนังสือ คุณก็ต้องเริ่มเรียนที่ตัวอักษรก่อนที่จะเริ่มเรียนเรื่องอื่นๆเช่นกัน แต่ในตลาด Forex คุณต้องเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ เพื่อที่จะเข้าใจความหมายของมันก่อนที่คุณจะไปเรียนรู้เทคนิคการทำกำไรต่างๆ และคำศัพท์ที่ผมจะนำมาให้ท่านได้เรียนรู้นั้นเป็นคำศัพท์ง่ายๆที่ไม่ว่าใครก็ต้องรู้ เพราะว่ามันเปรียบเสมือนกับตำแหน่งประจำตัวคุณในตลาด Forex เลยก็ว่าได้นั่นก็คือคำว่า “Trader (เทรดเดอร์)” ซึ่งเป็นคำที่คุณอาจจะรู้อยู่แล้วว่าคืออะไร แต่อาจจะยังไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของมัน ผมจึงได้เขียนบทความนี้เพื่อที่คุณทุกๆจะได้รู้ว่า Trader (เทรดเดอร์) คืออะไร และมีความหมายว่าอย่างไรครับ

    Trader คืออะไร?

    Trader (เทรดเดอร์) คือ บุคคลที่ซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน ได้แก่ ตราสารหนี้, หุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์

    สินค้าโภคภัณฑ์ คืออะไร?

    สินค้าโภคภัณฑ์ คือ สินค้าต่างๆที่ใช้เพื่อการลงทุน และนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ซึ่งสินค้าโภคภัณฑ์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

    สินค้าทางเกษตร

    • ข้าวสาร
    • กาแฟ
    • ถั่วเหลือง

    สินค้าประเภทโลหะ

    • เงิน
    • ทองคำ
    • ทองแดง
    • อลูมิเนียม

    สินค้าประเภทพลังงาน

    • น้ำมัน
    • ถ่านหิน
    • ก๊าซธรรมชาติ

    ส่วนผู้คนที่ทำการซื้อขายสิ่งเหล่านี้เราเรียกกันว่า Trader (เทรดเดอร์) และเทรดเดอร์ในตลาด Forex เราก็จะเรียกว่า Trader Forex (เทรดเดอร์ฟอเร็กซ์) ซึ่งการซื้อขายของเทรดเดอร์ Forex อย่างเราก็คือ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินหรือการเก็งกำไรของสกุลเงินต่างๆ ด้วยการซื้อมาในราคาถูกแล้วขายเพื่อทำกำไรในราคาที่แพงกว่า

    ประเภทของ Trader (เทรดเดอร์) ในตลาด Forex

    ประเภทของ Trader (เทรดเดอร์) ในตลาด Forex สามารถแบ่งออกเป็นอีก 3 ประเภท ได้แก่

    1. Trader (เทรดเดอร์) ที่วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundament Aanalysis)

    การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundament Aanalysis) คือ การวิเคราะห์หรือคาดการณ์หาแนวโน้มต่างๆที่จะส่งผลต่อค่าเงิน โดยวัดจากเศรษกิจโดยรวมในประเทศนั้นๆ, ข่าวเศรษกิจต่างๆเป็นต้น  เพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจซื้อขายที่ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น และการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานก็จะแบ่งการวิเคราะห์ได้อีก 3 ประเภท ได้แก่

    วิเคราะห์ทางเศรฐกิจ (Economic Analysis)

    • เป็นการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตของเศรษฐกิจภายในประเทศหรือนอกประเทศ

    วิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis)

    • การวิเคราะห์อุตสาหกรรม คือ การวิเคราะห์อุตสาหกรรมต่างๆภายในประเทศนั้นๆ โดยวัดจากผลงานหรือการเติบโตของอุตสาหกรรมนั้นๆว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไรในอนาคต

    วิเคราะห์บริษัท (Company Analysis)

    • การวิเคราะห์ประเภทนี้จะเป็นการวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพท์ ซึ่งการวิเคราะห์บริษัทจะใช้ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพของบริษัทและปริมาณ

    *จากหัวข้อข้างบนคุณคงเห็นแล้วว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเข้าใจที่ละเอียดมากขึ้น ดังนั้นการวิเคราะห์ทางเทคนิคจึงเป็นที่นิยมมากกว่า

    2. Trader (เทรดเดอร์) ที่วิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)

    การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) เป็นการใช้เครื่องมือต่างๆที่จะช่วยให้คุณวิเคราะห์กราฟราคาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และเป็นรูปแบบที่เทรดเดอร์ในตลาด Forex นิยมเป็นอย่างมาก ส่วนการวิเคราะห์ทางเทคนิคจะประกอบด้วย 3 แนวคิดหลัก ได้แก่

    • ราคาจะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มเดิมไปเรื่อยๆจนกระทั่งสิ้นสุดแนวโน้มถึงจะมีการเปลี่ยนแปลง
    • ข้อมูลทุกๆอย่างจะสะท้อนในรูปแบบของกราฟราคา
    • ราคาหุ้นมีพฤติกรรมเคลื่อนที่ตามแนวโน้วเดิมซ้ำๆ

    จากแนวคิดทั้ง 3 คุณคงเห็นแล้วว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) นั้นเปรียบเสมือนกับการวิเคราะห์ทางจิตวิทยาของผู้คนในตลาด หรือ วิเคราะห์ด้วยสถิติ และความน่าจะเป็น ซึ่งนำค่าคณิตศาสตร์มาคำนวณร่วมด้วย และอย่างที่ผมบอกว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นเป็นที่นิยมอย่างมากในตลาด Forex และการวิเคราะห์ทางนิคก็จะมีหลากหลายรูปแบบแบบไม่ว่าจะเป็นการใช้ Indicator (อินดิเคเตอร์), กราฟแท่งเทียน, Price Action ซึ่งการวิเคราะห์รูปแบบนี้ให้สัญญาณค่อนข้างรวดเร็วกว่าแบบอื่นๆ จึงเป็นที่นิยมสำหรับเทรดเดอร์หลายๆคน

    ทำไมเทรดเดอร์ Forex ชอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค?

    ให้สัญญาณต่างๆที่รวดเร็ว เช่น สัญญาณซื้อขาย หรือ สัญญาณการกลับตัวของราคา ซึ่งการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นมีความแม่นยำในระดับหนึ่ง เพราะว่าการวิเคราะห์รูปแบบนี้จะใช้หลักทางคณิตศาสตร์มาคำนวณ จึงใช้ข้อมูลค่อนข้างน้อยในการวิเคราะห์ และทำให้การวิเคราะห์รูปแบบนี้มีความน่าเชื่อถือพอสมควร

    3. Trader (เทรดเดอร์) ที่ไม่มีการวิเคราะห์อะไรเลย

    เทรดเดอร์ประเภทนี้นั้นจะไม่มีการวิเคราะห์ด้านต่างๆ แต่จะเอาความรู้สึกของตัวเองเป็นที่ตั้ง และคิดว่าราคาจะเป็นไปตามที่เค้าคิด อย่างเช่น

    • นาย ก. คิดว่ากราฟราคาจะต้องขึ้นแน่ๆ เพราะว่าตอนนั้นกราฟแท่งเทียนเป็นสีเขียว และกำลังขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเปิดออเดอร์ Buy โดยทันที แต่ในเวลาต่อมากราฟราคาก็มีการย่อตัวกลับลงมาจนเป็นแท่งสีแดง นาย ก.จึงปิดออเดอร์ Buy ก่อนหน้านี้ และเปิดออเดอร์ Sell แทน

    ซึ่งการเทรดรูปแบบนี้ก็คือ การเทรดแบบมั่วๆหรือมโนว่ากราฟราคาจะเป็นอย่างที่เค้าคิด เพราะไม่มีการวิเคราะห์อะไรทั้งสิ้นและใช้อารมณ์ล้วนๆ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ ขาดทุนย่อยยับ และอาจจะล้างพอร์ตในที่สุด

    สรุปเรื่อง Trader (เทรดเดอร์)

    คุณคงทราบแล้วว่าเทรดเดอร์ประเภท วิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นเหมาะกับตลาด Forex เป็นอย่างมาก เพราะว่าให้สัญญาณต่างๆที่รวดเร็ว ซึ่งการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นมีความแม่นยำในระดับหนึ่ง เพราะว่าการวิเคราะห์รูปแบบนี้จะใช้หลักทางคณิตศาสตร์มาคำนวณ จึงใช้ข้อมูลค่อนข้างน้อยในการวิเคราะห์ และทำให้การวิเคราะห์รูปแบบนี้มีความน่าเชื่อถือพอสมควร แต่ก็ไม่ใช่ว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะไม่ดี แค่มันต้องใช้ข้อมูลค่อนข้างมากในการวิเคราะห์ จึงทำให้ใช้เวลาในการวิเคราะห์ที่นานเกินไป ซึ่งตลาด Forex มีความผันผวนสูง การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมสักเท่าไหร่ เพราะว่าต้องการสัญญาณที่รวดเร็วในการตัดสินใจ

    error: Content is protected !!